|หน้าแรก| |เกี่ยวกับเรา| |ติดต่อทีมงาน| |แจ้งปัญหาการใช้งานแจ้งปัญหาการใช้งาน|
Login
 
!!! ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด www.classicamulet.com !!!

หน้าแรก » สารพัน 108 - 1009 » เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี ใช้สูตรหลวงปู่นาค วัดะฆัง

ไปยังหน้า
เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ป
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี ใช้สูตรหลวงปู่นาค วัดะฆัง
 โพสต์ วันเวลา: 2013-05-17 00:00:00 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ:
สร้างกระทู้: 36
ตอบ: 115

 

 
 

เปิดตำนานช่างผู้รังสรรค์ผลงานสมเด็จวัดระฆังรุ่น100ปี!!!~


พระสมเด็จวัดระฆัง ชื่อนี้คือจักรพรรดิแห่งพระเครื่่องมาทุกยุคทุกสมัย ไม่มีใครปฏิเสธ

ผลจากการสืบทอดวิชาจากรุ่นสู่รุ่น ไล่เรียงมาจาก สมเด็จโต,สมเด็จปิลันทร์,หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม

หากมองในสายวิชชาอาจจะหาผู้สืบทอดได้น้อยเต็มที แต่ตำรับวิธีการสร้างพระสมเด็จอันเลื่องชื่อนั้น ยังได้รับการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน!!

สำหรับผู้ที่เอื้อมไม่ถึงพระพิมพ์สมเด็จที่สมเด็จโตท่านสร้างไว้ ก็มักจะหาของสมเด็จปิลันทร์ หรือหลวงปู่นาค แทน

และอีกทางเลือกหนึ่่งที่ ณ ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมตามหลังมาเร็วจี๋ นั่นก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 100 ปี นี่เอง

เหตุที่ได้รับความนิยม ก็เนื่องมาจากเนื้อหามวลสารอันเป็นเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวของสายวัดระฆังโดยเฉพาะ และมีความละม้ายคล้ายคลึงกับพระสมเด็จของสมเด็จโตมากที่สุด

ที่ผู้รังสรรค์ผลงานพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง 100 ปี นี้ก็ได้รับการสืบทอดวิชชานี้มาจาก หลวงปู่นาค วัดระัฆังนั่นเอง

และวันนี้จะได้นำมาเปิดโฉมหน้าพร้อมทั้งบทสัมภาษณ์ ที่เมืองกาหลงแห่งนี้ ที่นี่ที่แรก!!!

ภาพและบทสัมภาษณ์บางตอนจากนิตยสารในเครือ C.R.S. พ.ศ.2537


ท่านผู้นี้คือ......ช่างนิด ตรัยศักดิ์ศรี ศิษย์ผู้สืบทอดวิชาสร้างพระพิมพ์เนื้อผงสูตรวัดระฆังโดยทุกประการ และนี่คือบางส่วนของบทสัมภาษณ์ของช่างนิดบางส่วนบางตอน เชิญทัศนา...

" ผมได้รับการสั่งสอนและเรียนรู้ถึงวิธีการทำพระสมเด็จวัดระฆังมาจากหลวงปู่นาค ไม่ว่าจะเป็นการผสมเนื้อ หรือการตำตลอดจนถึงการพิมพ์ ผมเป็นผู้เดียวที่ได้รับการสืบทอดจนหมดไส้หมดพุง และก็ยึดมาเป็นอาชีพจวบจนทุกวันนี้"

 

"การที่ผมได้รับการถ่ายทอดวิชานี้มาจากหลวงปู่นาคก็เพราะผมเป็นลูกศิษย์ลูกหารับใช้ท่านอยู่ใกล้ชิด ผมทำสมเด็จวัดระฆหังรุ่น 100 ปี เมื่อปีพ.ศ.2514 แต่มาออกเอาในปี พ.ศ.2515 ต่อมาก็ทำรุ่น 108 ปี จากปี 2522 มาออกเอาในปี 2523 และก็มาทำรุ่น 118 ปี เมื่อปี 2532"

"สมัยที่ทำอยู่กับหลวงปู่นาค ผมใช้สถานที่ทำกุฏิริมน้ำคณะที่ 1 มีคนช่วยทำอยู่ประมาณ 4-5 คน ไม่ได้ใช้เครื่องปั๊ม ใช้มือกดเอา วันหนึ่งๆ ได้ประมาณ 300 องค์ ไม่เกิน 400 องค์ ใช้เวลาตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึงประมาณ 3 ทุ่ม ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ทั่วๆไปใช้เครื่องปั๊มวันนึงเป็นพันๆองค์"

"ในส่วนผสมที่ผมได้รับจากหลวงปู่นาคนั้น ผมได้รับทราบจากหลวงปู่ว่า ท่านศึกษาดูมาจากตำราของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ตำรานี้ต่อมาได้สูญหายไป ส่วนผสมต่างๆของท่านเจ้าประคุณสมเด็จตามที่ผมได้รับทราบจากหลวงปู่นาคว่า ท่านเอาตะไคร่น้ำบ้าง ปูนข้างโบสถ์บ้าง หรือบางทีอาหารที่ฉันแล้วอร่อยท่านก็เก็บเอามาเป็นส่วนผสมทำพระสมเด็จ แต่ต่อมาถึงยุคหลวงปู่นาค ท่านก็พัฒนาสูตรเพิ่มเติมขึ้นอีก โดยใช้ผงอิทธิเจ ซึ่งมีส่วนผสมมาจากปูนขาวแล้วนำมาเก็บกักใส่โหลเอาไว้เป็นปีๆ ถึงค่อยนำออกมาทำ ส่วนผสมที่กักเก็บไว้ในขณะนั้นปัจจุบันผมยังมีเก็บไว้อยู่ เพราะผมต้องเอามาเป็นส่วนผสมในการทำงานในขณะนี้"

 

"ผมกล้าพูดอย่างจะจะเลยว่า ส่วนผสมของวัดระฆังนั้นในขณะนี้ ช่างในประเทศไทยไม่มีใครล่วงรู้เลย และก็ทำกันไม่ได้"

"ในส่วนผสมหรือเคล็ดลับของการทำก็เช่นกัน ผมใช้ขั้นตอนของหลวงปู่ อย่างเช่นปัจจุบันมักจะใช้ปูนหอย และน้ำมันตังอิ๊วเป็นหลัก แต่ผมใช้ไม่ได้เลยมันเข้ากันไม่ได้ กลิ่นก็เหม็นหืนเนื้อพระจะไม่แห้ง ลองดมกันดูได้ ของที่ผมทำอยู่อีกกี่สิบปีก็ไม่มีกลิ่นเหม็น ผมจะใช้แต่ปูนขาวผสมผงเกสร 108 แล้วก็ผงเก่า น้ำผึ้ง กล้วยน้ำว้า"

 

"การบดก็ต้องค่อยๆ ตำให้ละเอียดให้เข้ากัน ตำจนเป็นลูกและต้องผึ่งไว้ให้แห้งให้แข็งตัว แล้วก็เอามาตำใหม่ ถึงจะได้ผงจริง แล้วค่อยเอาไปกดลงพิมพ์กดเสร็จแล้วก็ตั้งตัด ตัดเสร็จแล้วก็ต้องนำไปผึ่งแดดให้แห้ง และก็คัดองค์ไหนไม่ดีมีตำหนิผมเอาออกหมด"

 

"ขั้นตอนการทำงานของผมมันจะยุ่งยากกว่าทั่วๆไป คนทำงานของผมส่วนมากก็จะมีแต่ลูกๆ หลานๆ ไม่กี่คน ไม่มีคนอื่น"

"อย่างของผมที่ทำอยูู่นี้กล้าท้าได้เลยว่า เนื้อพระออกมาละเอียดอ่อน นุ่มนวล แต่แน่นและคงทน นำไปแช่น้ำได้เลยเป็นปีๆ ไม่มีผุ ไม่มีกร่อน"
 



และทั้งหมดนี้คือ ถ้อยคำจากตัวจริงเสียงจริง "ช่างนิด" ช่างที่ถือว่าเป็นมือหนึ่งของประเทศไทยที่ สืบสานฝีมือจากวัดระฆัง สร้างผลงานเลื่องลือชื่อจากพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี เป็นต้นมา ลองสอบถามที่คณะ 3 วัดระฆัง หรือสอบถามพระอาจารย์วิลาศ ที่วัดระฆังได้ครับ      ส่วนเรื่องความนิยมของพระรุ่น 100 ปี แพงกว่าในระยะนี้  เพราะพระสมเด็จบางขุนพรหม 09 ขึ้นไปมากแล้ว  และ ของเริ่มหายากขึ้น  เซียนหลายท่าน ได้สะสมพระชุดนี้ไว้มาก

และ พิธีการและประวัติก็ชัดเจนกว่า  จึงถูกนำมาเล่น แรง และ แพงมาก  ส่วนจะไปไกลแค่ไหน  ก็อยู่ที่วาของเสริม หรือ  ของเก๊ จะออกมาถล่ม  หรือไม่  ต้องคอยดูกันต่อไปครับ. 

 

 

 
 ส่งข้อความส่วนตัว
 หัวข้อกระทู้: Re: เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี ใช้สูตรหลวงปู่นาค วัดะฆัง
 โพสต์ วันเวลา: 2013-05-17 00:00:00 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ:
สร้างกระทู้:36
ตอบ: 115

หลวงปู่นาค วัดระฆัง เจ้าของสูตร พระวัดระฆัง 100 ปี  และ ผู้สืบทอดตำราของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง ครับ



 
 ส่งข้อความส่วนตัว
 หัวข้อกระทู้: Re: เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี ใช้สูตรหลวงปู่นาค วัดะฆัง
 โพสต์ วันเวลา: 2013-05-17 00:00:00 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2011-05-06 00:00:00
สร้างกระทู้:500
ตอบ: 3608

222222

 
 ส่งข้อความส่วนตัว
 หัวข้อกระทู้: Re: เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี ใช้สูตรหลวงปู่นาค วัดะฆัง
 โพสต์ วันเวลา: 2013-05-20 00:00:00 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2009-09-07 00:00:00
สร้างกระทู้:94
ตอบ: 1500

13 ข้อมูลแน่นเช่นเคย  สบายดีนะครับ

 
 ส่งข้อความส่วนตัว
 หัวข้อกระทู้: Re: เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี ใช้สูตรหลวงปู่นาค วัดะฆัง
 โพสต์ วันเวลา: 2013-05-27 00:00:00 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2010-08-30 00:00:00
สร้างกระทู้:183
ตอบ: 889

สำหรับพระวัดระฆังตอนนี้.ช่างกดพิมพ์อยู่แถวบ้านผมเขากดพิมพ์ตัดือแบบโบราณ.ส่งให้วัดระฆังและวัดแก้วแจ่มฟ้า

 
 ส่งข้อความส่วนตัว
 หัวข้อกระทู้: Re: เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี ใช้สูตรหลวงปู่นาค วัดะฆัง
 โพสต์ วันเวลา: 2013-05-27 00:00:00 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2010-08-30 00:00:00
สร้างกระทู้:183
ตอบ: 889

ฝีมือเขา..





 
 ส่งข้อความส่วนตัว
 หัวข้อกระทู้: Re: เปิดตำนานพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี ใช้สูตรหลวงปู่นาค วัดะฆัง
 โพสต์ วันเวลา: 2013-06-05 00:00:00 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2009-08-30 00:00:00
สร้างกระทู้:2
ตอบ: 264

ขอบคุณครับ  222222

 
 ส่งข้อความส่วนตัว

cron
© 2008 www.classicamulet.com