|หน้าแรก| |เกี่ยวกับเรา| |ติดต่อทีมงาน| |แจ้งปัญหาการใช้งานแจ้งปัญหาการใช้งาน|
Login
 
!!! ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด www.classicamulet.com !!!

หน้าแรก » ประวัติพระเครื่อง » ประวัติโดยสังเขป พระพุทธชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน

ไปยังหน้า
ประวัติโดยสังเขป พระพุทธชินราช หลว
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ประวัติโดยสังเขป พระพุทธชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน
 โพสต์ วันเวลา: 2014-08-07 09:54:43 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2011-05-06 00:00:00
สร้างกระทู้: 500
ตอบ: 3608

 

 
เหรียญหลวงพ่อโมเป็นเหรียญที่นักนิยมพระต่างเสาะแสวงหาราคาเรือนหมื่นด้วยมีชื่อเสียงในด้านคงกระพันชาตรีเป็นเหรียญที่เก่ามีอายุการสร้างถึง 82 ปีเศษ อีกทั้งท่านยังได้สร้างพระชินราชเนื้อตะกั่วผสมปรอทได้รับความนิยมมาก มีอิทธิคุณในด้านคงกระพันและด้านป้องกันอัตรายอย่างยอดเยี่ยม ปัจจุบันนั้นเริ่มจะหายากขึ้นทุกที
สมัยก่อนนั้นคนทุกคนจะรู้จักแต่วัดสามจีนแต่ปัจจุเมื่อเอ่ยถึงชื่อของวัดสามจีนแล้วผู้คนจะไม่ค่อยรู้จัก นอกจากจะพูดถึงพระเครื่องพิมพ์พระพุทธชินราชเนื้อตะกั่วผสมปรอทของหลวงพ่อโม และเหรียญรูปเหมือนของท่านเท่านั้นจะรู้ทันทีว่าวัดสามจีนปัจจุบันต้องเอ่ยถึงชื่อ พระวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในถนนตรีมิตร เขตสัมพันธวงศ์ ย่านใจกลางเมืองกรุงกันเลย ผู้สร้างวัดนี้เป็นชาวจีนสามท่านด้วยกันที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาจึงได้ร่วมกันสละทรัพย์สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวจีนในย่านนั้นที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ประกอบกิจพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดคือ หลวงพ่อโต องค์ขนาดใหญ่ แต่ก่อนนั้นมีปูนพอกองค์ท่านอยู่ต่อมาปูนได้เกิดกระเทาะขึ้นจึงเห็นเนื้อในขององค์พระเป็นทองคำชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อทองคำ เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลกสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ชาวไทยและมีชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในเมืองไทยเข้ามาชมความงดงามของหลวงพ่อทองคำหรือหลวงพ่อสุโขทัยกันอยู่ไม่ขาดสาย นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่ล้ำค่าทางมรดกของชาติอย่างมาก
ชาติภูมิ พระครูวิริยะกิจการี นามเดิมว่า โม แซ่ฉั่ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 5 ปี พ.ศ. 2406พ่อแม่ของท่านเป็นชาวจีนที่เดินทางมาจากเมืองจีนเข้ามาประกอบอาชีพในการค้าขาย พ่อของท่านชื่อลิ้ม แซ่ฉั่ว แม่ของท่าน กิมเฮียง ญาติของหลวงพ่อโมที่แซ่เดียวกันที่มีชื่อเสียงอยู่เวลานี้ เป็นพระอาจารย์ที่มีคนให้ความเคารพนับถืออย่างมากรูปหนึ่ง มีวิชาอาคมขลังมากพระเครื่องของท่านมีอภินิหารในด้านคงกระพันชาตรี และตัวของท่านเองนั้นยอดเยี่ยมในด้านคุณวิเศษอย่างมาก ขนาดพ่อนาคจะเข้าบวชในวันรุ่งขึ้นขณะที่โกนหัวปลงผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว พ่อนาคเข้าอาบน้ำในห้องน้ำ ปรากฏว่าพ่อนาคหายไปโดยไม่มีใครพบเลย ผีได้พาไปร่วมหลับนอนด้วยแล้วได้พานาคไปทิ้งไว้บนยอดมะพร้าว พ่อแม่ของนาคติดตามหาอย่างไรก็ไม่พบต้องเดือดร้อนไปหาท่านให้นั่งทางในดูให้หลวงพ่อท่านได้บอกว่า ผีสาวในเมืองลับแลมาพาไปนอนด้วยอยู่บนยอดมะพร้าวในสวนหลังบ้านนั่นเอง 
บ้านในจังหวัดชลบุรีเขาจะไม่ยกพื้นถึงยกพื้นก็สูงแค่เมตรเศษๆ เอง พอนาคลงมาก็เล่าให้ฟังว่าพบสาวงามผู้หนึ่งเกิดถูกใจขึ้นมาก็ไปหลับนอนด้วยกันพอรู้สึกตัวอีกทีก็นอนอยู่บนยอดมะพร้าวลงไม่ได้ เขาเห็นหมดว่าใครมาเรียกหาเขามากันเยอะแยะเลย แต่เขาเรียกออกไปคนทั้งหมดไม่ได้ยินเขาเลย
พระอาจารย์รูปนั้นคือ หลวงพ่อมหาสวัสดิ์ ปุณณสีโล ปัจจุบัน ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ท่านจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์เม้าสุขา มาสร้างขึ้นตามที่นางเม้า นามสกุลสุขาได้ถวายที่ดินให้นอกจากนี้ในด้านภินิหารของท่านยังมีมากมายครับ ถึงท่านจะมีอายุถึง 92 ปี กว่าแล้ว ยังแข็งแรงสุขภาพดี มีคนไปกราบไหว้ไม่ขาดสาย ท่านแซ่เดียวกันกับหลวงพ่อโมและเป็นญาติกันห่างๆ หลวงพ่อมหาสวัสดิ์ท่านมีชื่อจีนว่า เจ็ง แซ่ฉั่ว ท่านเคยรับใช้อยู่กับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อกล่อม วัดวังกะพี้ หลวงพ่อเนียง วัดวังพะเนียด หลวงปู่บาผู้สำเร็จวัดท่าข้ามบางปะกง ที่หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยให้ความเคารพนับถือหลวงปู่บาอย่างมาก
หลวงพ่อโมเมื่อวัยเด็กได้ศึกษาหาความรู้จนอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาจีนและภาษาไทย นิสัยของท่านเด็ดเดี่ยว ชอบศึกษาหาความรู้ในด้านวิชาอาคมขลัง สมัยนั้นพวกคนจีนที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยมีทั้งคนดีและพวกนักเลงคุมถิ่นเรียกเก็บค่าคุ้มครองกันมีกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ท่านจึงอยากจะได้ของดีจากพระอาจารย์ต่างๆไว้ป้องกันตัวเพราะได้เห็นถึงคนตีกันฟันกันด้วยอาวุธแหลมคม แต่คนที่มีคุณความดีติดตัวนั้นจะไม่เป็นอันตรายอะไร ถูกฟันถูกแทงก็ไม่เข้าเลยอย่างมากก็เพียงแค่เป็นรอยเป็นปื้น ท่านจึงเสาะหาพระอาจารย์เข้าไปช่วยเหลือทำโน่นทำนี่ให้ท่านก็ได้วิชาไว้บ้าง
ท่านเป็นเด็กที่ขยันทำงานช่วยเหลือพ่อแม่ของท่านประกอบอาชีพค้าขาย ทั้งยังสนใจในการงานทางช่างไม้ และการคำนวณต่างๆ อีกด้วย นิสัยของท่านโอบอ้อมอารีย์เป็นที่เมตตาของบรรดาญาติไม่เหมือนเด็กๆทั่วๆไป ซึ่งบางคนไปเข้าพวกเข้ากลุ่มนักเลงทั้งยังชอบในการทำบุญทำทานมักจะเข้าวัดนำอาหารไปทำบุญอยู่เป็นนิจ
เมื่อมีอายุครบบวช ก็ได้เป็นพระที่วัดสามจีน โดยมีท่านพระปรากรมมุนี (หลวงพ่อเปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดประทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แย้ม วัดสามจีน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังอุปสมบทได้รับฉายาว่า ธมมมสโร เมื่อบวชแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีนนั่นเอง
ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมะและด้านคาถาอาคมขลัง และท่านก็ได้เล่าเรียนวิชาอาคมขลังจากท่านพระปรากรมมุนีซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์ที่อาคมขลังอย่างสูงมาก ทั้งยังเชี่ยวชาญและมีความรอบรู้ในด้านกรรมฐาน มีชื่อเสียงทางน้ำมนต์ทางรักษาด้วย ถ้าท่านลงกระหม่อมให้ผู้ใดแล้วจะติดไปจนวันตาย แม้แต่เผาร่างของคนผู้นั้นที่หัวกระโหลกก็จะเป็นยันต์และอักขระขอมติดแน่นนานมากกว่าจะเผามอดไหม้
ต่อมาท่านปรากรมมุนีพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ของท่านได้รับแต่งตั้งสถาปนาให้เป็นเจ้าคณะเมืองพิษณุโลกหลวงพ่อโมท่านได้รับแต่งตั้งจากพระปรากรมมุนีเป็นพระใบฏีกาพระรับใช้ใกล้ชิดเมื่อท่านได้เดินทางไปเป็นเจ้าคณะเมืองพิษณุโลกท่านได้ติดตามไปอยู่เมืองพิษณุโลกด้วย รับใช้งานด้านต่างๆ จนหมดสิ้นจากพระอุปัชฌาย์ของท่าน
ครั้งนั้นทางราชการได้อัญเฃิญพระพุทธรูปที่สำคัญๆเก่าแก่ตามวัดต่างๆในหัวเมืองเหนือ ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านั้นได้ถูกชาวบ้านซ่อนซุกไว้ครั้งสงครามไทยกับพม่าโดยการเอาปูนพอกทับไว้ตามวัดต่างๆมีพรุพุทธรูปมากมายที่ร้างว่างเปล่าและวัดที่มีพระสงฆ์เพียงรูปสองรูป ได้นำมาไว้ในเมืองหลวง หลวงพ่อโมก็เป็นกำลังสำคัญในครั้งนั้น ท่านออกตามสถานที่ต่างๆของพิษณุโลกและเขตใกล้เคียง เพราะถ้าหากเอาพระพุทธรูปไว้อย่างนั้นจะขาดผู้ดุแลและจะมีคนมาลักเอาไปหรือทำลายให้เสียหายได้
หลวงพ่อพุทธชินราช แต่แรกทางการจะอัญเชิญลงมาไว้ในเมืองหลวง แต่ด้วยชาวบ้านจำนวนมากไม่ยอมและหลวงพ่อท่านได้แสดงอภินิหารให้ประชาชนได้ประจักษ์หลายอย่าง จึงไม่มีผู้ใดที่จะอัญเชิญท่านลงมาไว้ที่กรุงเทพฯ เมื่อแจ้งให้ทางกรุงเทพฯทราบ ในที่สุดก็ให้มีการหล่อจำลองท่านขึ้นมาแล้วอัญเชิญองค์จำลองล่องแพมาตามแม่น้ำ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านทรงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปเททองหล่อหลอมพระพุทธชินราช ณ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2442 ครั้งนั้นพระปรากรมมุนีเป็นเจ้าคณะเมืองพิษณุโลกได้เป็นกำลังสำคัญอย่างมากของฝ่ายสงฆ์
ต่อมาท่านพระปรากรมมุนี ได้เดินทางกลับจากพิษณุโลกมาอยู่ที่วัดปทุมคงคาตามเดิม หลวงพ่อในฐานะศิษย์และเป็นพระฏีกาก็ติดตามเดินทางกลับมาอยู่ที่วัดสามจีนในฐานะเถระพระผู้ใหญ่มาอยู่ได้ระยะหนึ่งท่านเจ้าอาวาสวัดสามจีนมรณภาพลง ตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ว่าง ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดสามจีนแต่นั้นเป็นต้นมา
สมัยท่านเป็นเจ้าอาวาสนั้นนักเลงหัวไม้ทั้งคนจริงมากมายตั้งกันเป็นก๊ก เป็นเหล่า สมัยนั้นมีก๊กเก้ายอดซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน หรือที่ท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินมาแล้ว หลวงพ่อหรุ่น ใจพารา อดีตกำนันคนดังคนจริงแห่งคลองเชียงรากตอนหลังมีศิษย์เคารพนับถือมากมายในด้านคงกระพันชาตรี และมีชื่อเสียงอย่างมาก ท่านจะลงหมึกสักยันต์ลงยันต์ด้วยน้ำมันงาเสกแต่ส่วนมากสมัยนั้นจะสักยันต์ด้วยหมึกดำ
ในย่านสัมพันธวงศ์นั้นก็มีก๊กลั่กกั้กมีสัญลักษณ์ของแต่ละสำนัก นักเลงสมัยนั้นจะคุมแต่ละย่านแบ่งกันคุ้มครองเก็บเงิน แต่อย่างว่าละครับ มักจะเกิดเรื่องข้ามเขตข้ามแดนกันเสมอๆถึงขนาดบางคราวถึงขั้นยกพวกมีจำนวนมากๆ ต่อสู้กัน แต่ละฝ่ายจะเหนียวคงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า ตีไม่แตก แต่เมื่อครั้งใดศิษย์ของทั้งสองสำนักปะทะกันต่างก็ต้องกลับไปด้วยความสบักสบอม ไปรักษาความบอบช้ำความระบมเป็นเวลานานกว่าจะหาย สมัยนั้นเรื่องพกปืนไม่ต้องพูด สู้มีดพกมีดดาบ เหล็กแหลมไม่ได้
ศิษย์ของท่านผู้หนึ่งต้องระเห็ดออกจากกรุงเทพฯไปอยู่นครปฐมไปประกอบอาชีพค้าขาย เขาเป็นคนจริงขืนอยู่ในเมืองหลวงก็ต้องเจอกับปัญหาหนักเขาจึงต้องออกไปอยู่กัยญาติที่นครปฐม แต่แรกนั้นก็อยู่อย่างสงบ ตอนหลังมีนักเลงเจ้าถิ่นและนักเลงมาเบ่งเรียกค่าคุ้มครองเล็กๆน้อยๆก็พอจะให้กันได้ แต่ถ้าบ่อยและมากขึ้นก็ไม่ยอม นักเลงนครปฐมมีของดี หลวงพ่อทาและหลวงพ่อนาค วัดห้วยจรเข้ที่มีชื่อเสียงในด้านคงกระพันชาตรีอย่างมากที่สุดก็นับถือกัน
ศิษย์ของหลวงพ่อโมถือว่าแน่เหมือนกันไม่ยอมให้ใครรบกวนอีกต่อไปจนนักเลงเมืองนครปฐมต่างยกย่องและยังเคยเดินทางไปหาท่านถึงเมืองหลวง 
สิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีที่ทางวัดเก็บรักษาเอาไว้อย่างดีคือพัดรัชมังคลาภิเษก และเครื่องแก้วเจียรไนจากเมืองนอกที่ทางวัดรักษาเอาไว้นั้นเป็นของที่หลวงพ่อโมท่านได้รับมาในงานสมโภชมหารัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ให้เจ้าหน้าที่ชาววังนิมนต์ท่านด้วย 
เหรียญรูปเหมือนของหลวงพ่อโมเหรียญรูปเหมือนของท่านเป็นเหรียญเก่ามากเหรียญหนึ่ง มีความงดงามอย่างมาก เหรียญ เป็นทรงรูปไข่ห่วงเชื่อม ด้านหน้ามีรูปหลวงพ่อหน้าตรงครึ่งองค์ ข้างบนขอบเหรียญนั้นมีช่อดอกไม้ จะคล้ายๆ เหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย และเหรียญพ่อบ่าย วัดช่องลม เมืองแม่กลอง ใต้ช่อดอกไม้ล้อมรูปของหลวงพ่อนั้นเป็นภาษาขอมเขียนไว้ว่า พระครูวิริยะกิจจา (โม) ด้านหลังเหรียญตรงกลางเป็นจันทร์ครึ่งเสี้ยว สูรย์ อุณาโลมและตังนะมหาอุดอักษรขอมส่วนบนว่า อุยะ จะชะ ตังขอมด้านล่างเขียนว่า มะ อะ อุ ตรงกลางอุทั้งสองข้างเป็นตัวเฑาะว์ขัดสมาธิไขว้แบบมหาอุดสองชั้น เหรียญนี้สร้างขึ้นในช่วง ปี พ.ศ. 2460 เป็นเหรียญที่มีการสร้างมาช้านานหลายสิบปี เป็นเหรียญที่มีความงดงามอย่างมากเหรียญกนึ่งและออกแบบแกะได้อย่างลึกซึ้งยิ่ง เหรียญของท่านเป็นเหรียญที่มีแต่เนื้อเงินอย่างเดียว เนื้ออื่นไม่มีเลยอยู่ในความนิยมของนักสะสมพระเครื่องเป็นเหรียญเก่าในแนวหน้าของเหรียญพระอาจารย์ในเมืองไทย มีราคาการเช่าหาที่แพงเป็นหมื่นบาทขึ้นไปถึงหลายหมื่นบาท ปัจจุบันค่อนข้างที่จะหายากพอสมควร
พระพุทธชินราชเนื้อตะกั่วผสมปรอท เมื่อครั้งที่ท่านติดตามพระปรารมมุนีไปอยู่ที่พิษณุโลกนั้นบังเกิดความเลื่อมใสหลวงพ่อท่านขึ้น และคงจะได้เห็นอภินิหารจากที่ผู้เดินทางไปกราบไหว้ท่าน เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ช่างผู้ซึ่งมีความสามารถอย่างมากในการสร้างสำเร็จเป็นองค์พระขึ้นมา ในสมัยนั้นยากที่จะมีช่างและผู้มีบุญญาอภินิหารจะมีความสามารถสร้างขึ้นได้ เป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามเป็นที่สุด ผู้ใดได้กราบไหว้และเห็นหน้าของท่านจะมีความสุขความอิ่มเอิบบังเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
ในการสร้างพระพุทธชินราชเนื้อตะกั่วผสมปรอท ทรงสามเหลี่ยม นั่งในกรอบซุ้มแบบเรือนแก้ว องค์พระนั่งบนฐานบัวคล่ำบัวหงาย ใบหน้าขององค์พระจะไม่สวยงดงามใบหน้าจะดูดุเล็กน้อย หลวงพ่อท่านสร้างขึ้นมาเพื่อมอบให้ศิษย์เอาไปติดตัวไม่ได้สร้างเพื่อเชิงธุรกิจเหมือนอย่างสมัยนี้
เนื้อของพระเครื่องนั้นจะเป็นตะกั่วผสมปรอท เข้าใจว่าท่านคงจะมีพวกตะกั่วผสมด้วยปรอทหล่อหลอมแล้วนั้นเทลงไปในเบ้าพิมพ์พระเครื่องเป็นแบบหล่อโบราณเนื้อพระจะแห้งมีคราบปรอทขึ้นประปราย ด้านหลังขององค์พระนั้นจะมีรอยจารของหลวงพ่อด้วยการจารนั้นมีด้วยกันหลายตัว มีความคมชัดเจนอย่างมาก พระพุทธชินราชเนื้อตะกั่วนั้นถึงจะมีอายุการสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2460ด้วยซ้ำไปแต่ว่าราคาการเช่านั้นยังไม่แพงแค่พันกว่าบาทเอง ราคาการเช่าหาก็พอๆกับเหรียญหล่อวัดระฆังหลังฆ้อน เป็นพระที่สร้างมาช้านานแต่ราคาถูก
ด้านอิทธิคุณนั้นไม่ต้องห่วงนักเลงสมัยก่อนในเมืองหลวงนั้นจะนิยมติดตัวกัน จึงได้รับความนิยมมาแต่เนิ่นนาน เป็นพระเครื่องที่ประเภทของดีราคาถูก สมัยที่การเล่นหาพระเครื่องยังไม่แพร่หลายนั้นคนที่เคยได้พระพุทธชินราชของหลวงพ่อโมไปติดตัวจะประสบความสำเร็จ ไปไหนจะแคล้วคลาดอันตราย เป็นเมตตามหานิยมต่อผู้คนที่พบเห็น

พระพุทธชินราชนั้นเป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยงามมีความศักดิ์สิทธิ์ในอดีตที่ผ่านมานั้นพระอาจารย์ในยุคเก่าๆมีชื่อเสียงมีความศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างพระพุทธชินราชจำลองไว้หลายท่านด้วยกัน ก็มีพระพุทธชินราชของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงปู่พลู วัดสำโรง นครปฐม ของหลวงพ่อหม่น คลองสิบสอง ของหลวงพ่อวัดลานคำ สุพรรณบุรี จะเห็นว่าพระพุทธชินราชนั้นพระอาจารย์ยุคเก่าๆ ท่านสร้างแจกให้บรรดาศิษย์และชาวบ้านไว้ติดตัวกันทั้งนั้น
นอกจากนี้มีเกจิฯ หลายท่านได้นำพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโมไปถอดแบบสร้างออกมาอีกเช่น หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ. ชลบุรี ได้นำพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโมไปถอดแบบสร้างเป็นเนื้อชินเมื่อราวปี พ.ศ. 2500 แต่ของหลวงปู่เฮี้ยงมีข้อแตกต่างคือ ท่านสร้างเป็นพระปั๊มมีความสวยกว่าของหลวงพ่อโม ส่วนของหลวงพ่อโมเป็นพระหล่อ พระอาจารย์ของวัดเสาธงทอง จ. สุพรรณบุรี ได้นำพระของท่านไปถอดแบบสร้างเป็นพระเนื้อดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกให้เห็นความแตกต่างในการสร้างของแต่ละวัด ทางวัดไลย์ ลพบุรีได้นำพระของท่านไปถอดแบบสร้างเช่นกัน หัวเมืองภาคกลางในอดีตแถวนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชื่อเสียงของหลวงพ่อโมได้ปรากฏที่เมืองเหล่านี้ในฐานะยอดพระเกจิแห่งจังหวัดพระนคร 
รู้วันมรณภาพ หลวงพ่อเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ในชีวิตของท่านจะฉันเจมาตลอดจนถึงวาระสุดท้ายของท่าน ในตอนเย็นวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2461 หลังจากที่ทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ท่านจะสอนพระสงฆ์ สามเณรนานกว่าทุกครั้ง และบอกให้พระเณรตื่นแต่เช้าลงทำวัตรเป็นกรณีพิเศษเพราะท่านมีเหตุที่จะสนทนาธรรมะเป็นครั้งสุดท้าย พระเณรไม่รู้ว่าท่านพูดเป็นการบอกลาแล้ว พอวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2461 เมื่อพระเณรทำวัตรเช้าเสร็จท่านก็อบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติและช่วยกันดูแลบำรุงวัด เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
หลังจากนั้นท่านก็บอกให้พระเณรออกไป เหลือแต่พระที่ใกล้ชิดท่านเพียงสามสี่รูป ท่านนั่งสมาธิในโบสถ์มรณภาพดับจิตของท่านเองปราศจากโรคภัยต่างๆ เบียดเบียนท่านมีความสมบูรณ์ด้วยสติปัญญาสมาธิทุกอย่าง สิริรวมอายุของท่านได้ 55 ปี พรรษาที่ 35 เป็นพระอาจารย์ที่มีอายุน้อยรูปหนึ่งแต่สูงด้วยอภินิหารอย่างมาก เหลือไว้แต่ชื่อเสียงและกิตติคุณของท่านเท่านั้น

 




 
 ส่งข้อความส่วนตัว

cron
© 2008 www.classicamulet.com