|หน้าแรก| |เกี่ยวกับเรา| |ติดต่อทีมงาน| |แจ้งปัญหาการใช้งานแจ้งปัญหาการใช้งาน|
Login
 
!!! ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด www.classicamulet.com !!!

หน้าแรก » ประวัติพระเครื่อง » พระสมเด็จเผ่า วัดอินทร์วิหาร กรุงเทพฯ.

ไปยังหน้า
พระสมเด็จเผ่า วัดอินทร์วิหาร กรุงเ
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: พระสมเด็จเผ่า วัดอินทร์วิหาร กรุงเทพฯ.
 โพสต์ วันเวลา: 2014-11-28 15:17:31 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2011-05-06 00:00:00
สร้างกระทู้: 500
ตอบ: 3608

 


   

สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 หรือบางท่านเรียก สมเด็จ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ปี2495 (สมเด็จพระครูสังฆ์ วัดอินทร์ ก็เรียก แ่ต่นับเป็นรุ่นสองของท่าน รุ่นรกสร้างปี2485) เป็นพระที่มีการจัดสร้างดีเพียบพร้อมไปด้วยองค์ประกอบหลายประการดั่งรายละเอียดสังเขปด้านล่างนี้

สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์อกร่อง (ด้านหน้า)   สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์อกร่อง (ด้านหลัง)

สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์อกร่อง

เบื้องหน้าพระประธานพระอุโบสถวัดอินทรวิหาร ภายในวงสายสิญจ์ มีสรรพวัตถุพิเศษครบต้องตามตำราโบราณเตรียมบริกรรมปลุกเสก อาทิ ผงเกษรดอกไม้ ผงเกษรบุนนาค ผงเกษรบัวหลวง ผงเกษรสาภี ผงเกษรพิกุล ผลซิงอ๊อกไซด์ ปูนขาว กระดาษฟาง น้ำมันมะพร้าว ดินสอพอง น้ำมันก๊าส น้ำอ้อย บนพานแ่ว่นฟ้าัยังมีมวลสารวิเศษซึ่งเตรียมไว้เป็นส่วนผสมประกอบด้วย



ผงวิเศษจาก พระพิมพ์สมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ที่แตกหัำกชำรุด
   
ผงตะไบพระกริ่งวัดสุทัศน์ครั้งหล่อพระกริ่งเมื่อปีพุทธศักราช 2485
   
ผงมวลสารสมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ที่มอบให้แก่หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร เก็บรักษาไว้
   
ผงมวลสารของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์
   
มวลสารวิเศษจากพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธี


รายนามพระคณาจารย์ร่วมปลุกเสกมวลสาร พระผงสมเด็จเผ่า วัดอินทรวิหาร เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495
   
พระเทพเวที วัดสามพระยา
   
พระภาวนาโกศลเถระ (หลวงพ่อสด) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
   
พระราชโมฬี (หลวงปู่นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม
   
พระภาวนาวิกรม วัดระฆัง
   
พระศรีสมโภช วัดสุทัศน์ฯ
   
พระอาจารย์ แฉ่ง วัดบางพัง
   
พระครูวินัยธร วัดสัมพันธวงศ์
   
พระครูสรภัญญประกาศ วัดโปรดเกศ
   
พระอาจารย์พลี วัดสวนพลู
   
พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ฯ
   
พระปลัดเปล่ง วัดกัลยานิมิตร
   
พระอาจารยืใบฎีกาบัญญัติ วัดสุทัสน์ฯ
   
พระครูอินทรสมจารย์ (พระครูสังฆ์) วัดอินทรวิหาร
   
พระครูมงคลวิจิตร วัดอนงคาราม (มาแทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ นวม ซึ่งอาพาธในขณะนั้น)


สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์เจดีย์ (ด้านหน้า)   สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์เจดีย์ (ด้านหลัง)

สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์เจดีย์

สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์สามเหลี่ยม (ด้านหน้า)   สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์สามเหลี่ยม (ด้านหลัง)

สมเด็จเผ่า วัดอินทร์ ปี2495 พิมพ์สามเหลี่ยม

คณะกรรมการจัดงานได้จัดเครื่องทองน้อย ตั้งเทียนชัยแปดทิศ ใส่กะบะมุกมาตั้งดูอร่ามและศักดิ์สิทธ์หนักหนา เบื้องซ้ายตั้งบายศรีเจ็ดชั้นข้างละคู่ มีรูปถ่ายสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ขนาดใหญ่ตั้งไว้ด้วย และมีธรรมาสน์มุกตั้งเป็นสำคัญในการอัญเชิญให้พระวิญญานสมเด็จฯมาเป็นประธาน

ได้ศุภฤกษ์มงคล 16 นาฬิกา 20 นาที พระมหาราชครูพราหมณ์มุนีศรีวิสุทธิคุณ กล่าวคำบวงสรวงสังเวยปรารภเหตุในการจัดสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสืบต่อเกียรติคุณ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี ) และเพื่อเฉลิมศรัทธาปสาทะของประชาชนที่เป็นพุทธมามกะ จะได้น้อมนำเอาไปเคารพบูชา ตลอดเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


รายนามพระคณาจารย์พิธีพุทธาภิเษก พระผงสมเด็จเผ่า วัดอินทรวิหาร เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2495
(ภายหลังจากกดพิมพ์พระเรียบร้อยแล้ว)
   
พลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
   
หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ
   
หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
   
หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ จ.นนทบุรี
   
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
   
หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
   
พระปลัดตังกวย วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ
   
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา
   
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
   
หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
   
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี
   
หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ


ด้วยความเพียบพร้อมทั้งด้านพิธีกรรมจัดสร้างทั้งทางสงฆ์และพราหมณ์ มวลสารวิเศษที่ประกอบรวมขึ้นเป็นองค์พระ และคณะบุคคลที่มีส่วนร่วมในการจัดสร้างทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส พระผงสมเด็จเผ่าจึงเป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลอันทรงคุณค่าเหมาะแก่การสะสมมากยิ่งนัก

 




 
 ส่งข้อความส่วนตัว

cron
© 2008 www.classicamulet.com